เมนู

54. อรรถกถาคันโธทกทายกเถรปทาน


อปทานของท่านพระคันโธทกทายกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ปทุมุตฺตร-
พุทฺธสฺส
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภาร ในพระมุนีผู้ประเสริฐองค์
ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ
ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่านบังเกิดในเรือน
มีสกุล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว เห็นชาวเมืองกระทำการ
บูชาต้นโพธิ์ จึงบรรจุหม้ออันวิจิตรด้วยน้าหอมเจือด้วยจันทน์ การบูร
และกลัมพักเป็นต้นให้เต็ม รดต้นโพธิ์ ขณะนั้นฝนตกโดยเป็นสายน้ำ
ใหญ่ ในกาลนั้นท่านทำกาลด้วยอสนีบาต ด้วยบุญกรรมนั้น ๆ เอง
ท่านบังเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่ในเทวโลกนั้นแล ได้กล่าวคาถามีอาทิว่า
อโห พุทโธ อโห ธมฺโม ดังนี้. ท่านเสวยสมบัติในเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลายด้วยอาการอย่างนี้ เป็นผู้ปราศจากความเร่าร้อนทั้งปวง เข้าถึง
ความผู้เย็นเป็นสุขในที่ ๆ คนเกิดแล้ว ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด
ในเรือนมีสกุล บรรลุนิติภาวะแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วเริ่ม
กรรมฐานเจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ด้วยบุญกรรมที่
บำเพ็ญไว้ในกาลก่อน ท่านจึงปรากฏนามว่า คันโธทกทายกเถระ.
วันหนึ่ง ท่านระลึกถึงบุพกรรม องคนเกิดโสมนัส เมื่อจะประกาศ
ปุพพจริตาปทานจึงกล่าวคำมีอาทิว่าปทุมุตฺตรพุทฺธสฺส ดังนี้ คำนั้นมีอรรถ
ดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า มหาโพธิมโห อหุ ความว่า ได้มีการบูชา

ต้นโพธิ์ใหญ่แล้ว. บทว่า วิจิตฺตํ ฆฏมาทาย ความว่า ถือเอาหม้ออัน
เต็มด้วยน้ำหอมอันงามวิจิตรด้วยจิตรกรรมและสุวรรณกรรมเป็นอันมาก.
บทว่า คนฺโธทกมทาสหํ แปลว่า ได้ให้น้ำหอม อธิบายว่า เราได้รด
ด้วยน้ำหอม.
บทว่า นฺหานกาเล จ โพธิยา ความว่า ในสมัยเป็นที่กระทำการ
บูชาต้นโพธิ์. คำที่เหลือมีอรรถตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาคันโธทกทายกเถราปทาน

โอปวุยหเถราปทานที่ 5 (55)

1

ว่าด้วยผลแห่งการถวายม้าอาชาไนย


[57] เราได้ถวายน้ำอาชาไนยแด่พระพุทธเจ้า พระนามว่าปทุ-
มุตตระ ครั้นมอบถวายในพระพุทธเจ้าแล้ว ได้กลับไปเรือน
ของตน พระอัครสาวกของพระศาสดามีนามชื่อว่าเทวิล ผู้เป็น
ทายาทแห่งธรรมอันประเสริฐ ได้มาสู่สำนักของเรา (กล่าวว่า)

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นำประโยชน์ทั้งปวง ผู้อาชาไนย
ไม่ทรงหวั่นไหว พระองค์ผู้มีจักษุทรงทราบความดำริของท่าน
จงทรงรับไว้.

เราจึงได้ตีราคาม้าสินธพซึ่งมีกำลังวิ่งเร็วดังลม เป็นพาหนะ
เร็ว แล้วได้ถวายของที่ควรเท่าราคาม้า แด่พระพุทธเจ้าพระ-
นามว่าปทุมุตตระ เราเข้าถึงกำเนิดใด ๆ คือความเป็นเทวดา
หรือมนุษย์ ม้าอาชาไนยอันมีกำลังวิ่งเร็วดังลม เป็นที่ยินดี
ย่อมเกิดแก่เรา.

(เราดำริว่า) ชนเหล่าใดได้อุปสมบท ชนเหล่านั้นได้ดี
แล้วหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าบ่อย ๆ ถ้าพระพุทธเจ้ามีในโลก.

เราได้เป็นพระราชาผู้มีพละมาก ครอบครองแผ่นดินมี
สมุทรสี่เป็นที่สุด เป็นใหญ่แห่งชนชาวชมพูทวีป 28 ครั้ง.

ภพที่สุดย่อมเป็นไปแก่เรานี้เป็นครั้งหลังสุด เราละความ
ชนะและความแพ้แล้ว ได้ถึงฐานะอันไม่หวั่นไหว.

ในกัปที่ 3,500 ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นกษัตริย์
มีเดชมาก ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ มีพละมาก.

1. อรรถกาเป็น โอปวัยหเถราปาน.